นิคมอุตสาหกรรมเหมาะสำหรับสร้างโรงงานหรือไม่

นิคมอุตสาหกรรมเป็นเขตที่รัฐบาล หรือภาคเอกชน จัดไว้ให้กลุ่มนักลงทุน.(Investor) ทางอุตสาหกรรม เข้ามา ดำเนินกิจการ อยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยจัดสรรที่ดิน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้บริการ อย่างพร้อมเพรียง เหตุผลเริ่มแรก ที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้น เพราะต้องการแก้ไขปัญหาการว่างงาน

และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นบริเวณที่เกิดประโยชน์ ต่อมาเมื่อกิจการนี้ มีประโยชน์แก่การผลิตอุตสาหกรรม จึงได้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นอย่างแพร่หลาย ในต่างประเทศทั่วโลก

จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.(BOI:.Board.of.Investment) ขึ้นใน ปี.พ.ศ.2504 คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน.(Investment.promotion) แล้วยังมีหน้าที่ พิจารณาคำขออนุญาต ของผู้ประสงค์ จะตั้งโรงงาน ในเขตที่กำหนดไว้ด้วย

ปี.พ.ศ.2511.รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานปรับปรุงที่ดิน ย่านตำบลบางชัน เขตมีนบุรี ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรม แห่งแรก ของประเทศไทย

การขนส่ง.(Transportation)

การขนส่ง เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก ที่จะส่งผล ต่อการกำหนดค่าใช้จ่าย ในการลงทุน และค่าใช้จ่าย ในการขนส่ง ก็จะส่งผล ให้ราคาสินค้าสูง หรือต่ำลงได้ จึงนับได้ว่า การขนส่ง ถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา ระมัดระวัง รอบคอบมีเหตุผล ทั้งนี้เพราะว่า ปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งที่สนับสนุน การผลิตต่างๆ ที่จะนำไปสู่โรงงาน ล้วนแต่อาศัยการขนส่งทั้งสิ้น

พลังงาน.(Energy)

ธรรมชาติของอุตสาหกรรม แต่ละรูปแบบ อาจมี ความต้องการ แหล่งต้นกำลัง และเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้ว มักจะต้องการ แหล่งต้นกำลัง จากกระแสไฟฟ้า โดยใช้บริการกระแสไฟฟ้า จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมากกว่า ที่จะ ผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้เอง

สาธารณูปโภค (Public.service)

โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรง จำเป็นต้องใช้น้ำ ไฟฟ้า ระบบน้ำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมหลายชนิด มีมลภาวะ (Pollution) ซึ่งเป็นภัยต่อชีวิต และธรรมชาติ เช่น สารเคมี น้ำมัน ซึ่งถ้าปล่อยลงแม่น้ำ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย (Water.Pollution) ควันไฟ ก๊าซบางอย่าง ทำให้อากาศ เป็นพิษ (Air.Pollution) โรงงานจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสังคม และปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างโรงงาน ได้ที่ www.tsrplanningcon.com

 

This entry was posted in บริการ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.